กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
เรื่อง ระบบย่อยอาหาร
..................................................................
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1
เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเอง และดูแลสิ่งมีชีวิต
ตัวชี้วัด
ว 1.1 ม.2/ 1 อธิบายโครงสร้างและการทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธ์ของมนุษย์และสัตว์รวมทั้งระบบปราสาทของมนุษย์
ว 1.1 ม.2/ 2 อธิบายความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ของมนุษย์และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1
ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอนสามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตัวชี้วัด
ว 8.1 ม. 2/1 ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจอย่างครอบครัวและเชื่อถือได้
ว 8.1 ม. 2/2 สร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้ และวางแผนการสำรวจตรวจสอบหลาย ๆ วิธี
ว 8.1 ม. 2/3 เลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัยโดยใช้วัสดุเครื่องมือที่เหมาะสม
ว 8.1 ม. 2/4 รวบรวมข้อมูล จัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ
ว 8.1 ม. 2/5 วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุปทั้งที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับสมมติฐานและความผิดปกติของข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบ
ว 8.1 ม. 2/6 สร้างแบบจำลอง หรือรูปแบบที่อธิบายผลหรือแสดงผลของการสำรวจตรวจสอบ
ว 8.1 ม. 2/7 สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิดกระบวนการและผลของโครงงานหรือชื้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
ว 8.1 ม. 2/8บันทึกและอธิบายผลการสังเกตการสำรวจตรวจสอบค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้
ว 8.1 ม. 2/9 จัดแสดงผลงาน เขียนรายงานและ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิดกระบวนการ และผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
สาระสำคัญ
การย่อยอาหาร คือการทำให้โมเลกุลของอาหารที่มีขนาดใหญ่ ให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลงจนสามารถดูดซึมเข้าสู่ระบบกระแสเลือดได้ ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ประกอบด้วยปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอวัยวะที่ช่วยย่อยอาหาร ได้แก่ ตับและตับอ่อน
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายโครงสร้างและหน้าที่ที่การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารของมนุษย์ได้
2. ทำการทดลองการย่อยอาหารทางเคมี ของลำไส้เล็กจากอุปกรณ์จำลองได้
สาระการเรียนรู้
1. ระบบย่อยอาหารของมนุษย์
2. อวัยวะที่ช่วยย่อยอาหาร
3. การย่อยสารอาหาร
4. การดูดซึมสามอาหาร
ทักษะ กระบวนการ
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. กระบวนการกลุ่ม
3.กระบวนการคิด
4.กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
คุณลักษณะ
1. มีเหตุผล
2.ยอมรับผลงานผู้อื่น
3.ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
4. มีความสามัคคี
5.มีความซื่อสัตย์
กระบวนการจัดการเรียนรู้
1. ให้นักเรียนดูบัตรภาพกระเพาะอาหาร และลำไส้ แล้วให้นักเรียนบอกชื่ออวัยวะที่เห็นพร้อมหน้าที่
( กระเพาะอาหารมีหน้าที่เป็นที่พักอาหาร ช่วยในการคลุกเคล้าอาหารกับน้ำ
ย่อยและช่วยย่อยอาหารบางประเภท)
( ลำไส้ มีหน้าที่ช่วยในการย่อย และดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไป
เลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แบ่งเป็นลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่)
2. ให้นักเรียนร่วมกันบอกชื่ออวัยวะที่อยู่ในระบบย่อยอาหาร (ปากหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่)
3. ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้นักเรียนทราบ
4. นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร แล้วร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็น
5. ให้ความรู้ เรื่องวิธีการย่อยสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน จนได้สารอาหารประเภทต่าง ๆ ที่มีโมเลกุลขนาดเล็กจนร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้
6. นักเรียนจัดกลุ่ม กลุ่มละ 4คน โดยคละเพศและความสามารถครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าผลงานของนักเรียนคือผลงานของกลุ่ม และกำหนดบทบาทของนักเรียนตามหมายเลขที่ได้รับ
หมายเลข 1 อ่านใบงาน เรื่อง การย่อยอาหาร
หมายเลข 2 รับอุปกรณ์การทดลอง และส่งอุปกรณ์คืนเมื่อทำการทดลองเสร็จ
เรียบร้อยแล้ว
หมายเลข 3 ทำการทดลอง
หมายเลข 4 บันทึกผลและสรุปผลการทดลอง
7. นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการทดลองตามใบงานที่ 2
8. สมาชิกทุกคนในกลุ่มร่วมกันตอบคำถามหลังการทดลอง
9. ครูชมเชยนักเรียนกลุ่มที่ทำงานได้ถูกต้อง และให้ข้อเสนอแนะแก่กลุ่มที่ยังทำการทดลองไม่ถูกต้อง
10. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเนื้อหาที่ได้ศึกษา ซึ่งควรได้ข้อสรุปดังนี้
การย่อยอาหารในร่างกาย จะเริ่มจากการย่อยเชิงกลที่ปากและหลอดอาหารสำหรับอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตสามารถย่อยทางเคมีได้ที่ปากเนื่องจากมีเอนไซม์อะไมเลสการย่อยเชิงเคมีจะเกิดขึ้นที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โดยที่บริเวณลำไส้เล็กจะมีน้ำดีจากรับและมีเอนไซม์จากตับอ่อนมาช่วยในการย่อยอาหาร สารอาหารที่ถูกข่อยแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดต่อไป
11. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1. สื่อการเรียนรู้
1.1 ใบความรู้ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร
1.2 ใบงาน เรื่อง การย่อยอาหาร
1.3 อุปกรณ์การทดลองในใบงาน
1.4 แบบฝึกหัด
1.5 หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2. แหล่งเรียนรู้
2.1 ห้องสมุด
2.2 ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
การประเมิน
วิธีการ
|
เครื่องมือ
|
เกณฑ์การประเมิน
|
1.
ตรวจผลงาน
|
ใบกิจกรรม
|
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ
80
|
2.
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
|
แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
|
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ
80
|
3. สังเกตทักษะการทำงานกลุ่ม
|
แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม
|
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ
80
|
4
การนำเสนอผลงาน
|
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
|
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ
80
|
5.
สังเกตคุณลักษณะที่พึงประสงค์
|
แบบประเมินคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์
|
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ
80
|